น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)

ศธ. เร่งยกระดับจัดการศึกษาผู้พิการทางสายตาในศตวรรษที่ 21

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ในศตวรรษที่ 21 โดยมีนายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวต้อนรับและ นางอรทัย ฐานะจาโร ประธานฝ่ายการศึกษา โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพ รายงานการดำเนินงาน

น.ส.ตรีนุช กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาของคนพิการทุกประเภท โดยได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่าผู้พิการต้องได้รับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางด้านการศึกษา ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ล่าสุด พบว่า ประเทศไทยมีคนพิการทุกประเภท กว่า 2.1 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้พิการทางการเห็น 186,701 คน ศธ.มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำและให้ทุกคนได้รับการศึกษาสูงสุดเต็มตามศักยภาพ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้ซึ่งในส่วนของผู้พิการทางการเห็น หรือตาบอดนั้น เป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือโดยเร่งด่วนเป็นพิเศษ เนื่องจาก มีผู้ได้รับการศึกษาเพียงไม่กี่พันคน เพราะมีข้อจำกัดของสถานที่เรียนในระบบ ซึ่งมีเพียง 16 แห่ง และในจำนวนนี้มีสถานศึกษาของรัฐ เพียง 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

“ดิฉันได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมกการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และภาคเอกชน มาร่วมกันวางแผนจัดการศึกษาเพื่อให้คนพิการทุกประเภทได้เรียน โดยตอนนี้ได้จัดให้มีโครงการปักหมุดคนพิการทั่วประเทศ รวมถึงวางแผนการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมคนพิการทุกประเภท ในทุก ๆ มิติ เช่น การเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียน โดยการเพิ่มสถานศึกษาให้มากขึ้น,การผลิตและพัฒนาครู ความพิการเฉพาะด้าน,การพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับคนพิการ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของภาคเอกชนที่ได้ดำเนินการมาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง “ น.ส.ตรีนุช กล่าว

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า หลังการสัมมนาได้มีพีธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กับ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอด 16 โรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาด้านอาชีพและเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียนพิการทางการเห็น พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการทางการเห็น และสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันด้านการศึกษาและพัฒนานักเรียนพิการทางการเห็นโดยองค์รวมที่เข้มแข็งและยั่งยืน

ยกระดับจัดการศึกษาผู้พิการทางสายตา

ด้านนายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะดูแลประสานงานร่วมกันในการส่งต่อและรับนักเรียนพิการทางการเห็นเข้าเรียนในระดับอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และระบบทวิภาคี และส่งเสริม สนับสนุนร่วมมือในด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านสุขภาวะอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนพิการทางการเห็นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนร่วมมือกันในการสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ ครูและบุคลากรในการจัดการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกิจกรรมอื่น ๆ

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า สำหรับโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการทางการเห็น ที่ทำความร่วมมือกันในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง ประกอบด้วย

1.โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จังหวัดกรุงเทพฯ

2. โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา จังหวัดกรุงเทพฯ

3. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

4.โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย จังหวัดเชียงราย

5.โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

6. โรงเรียนธรรมิกวิทยา จังหวัดเพชรบุรี

7. โรงเรียนการศึกษาเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อนชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

8. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

9. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี จังหวัดลพบุรี

10. โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

11. โรงเรียนคนตาบอดพระมหาไถ่พัทยาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชลบุรี

12. โรงเรียนสอนคนตาบอดสันติจินตนา จังหวัดแพร่

13.โรงเรียนพัฒนาการศึกษาคนตาบอดและคนพิการลำปาง จังหวัดลำปาง

14. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่

15. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

16. โรงเรียนสอนคนตาบอดมกุฎคีรีวัน (เขาใหญ่) จังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว มีระยะเวลา 5 ปี

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ visitbradenton-manatee.com

ufa slot

Releated