น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ

มว.ศึกษาธิการ มอบ สพฐ.-สอศ. คืนชีพหลักสูตรทวิศึกษา

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากการที่ตนพร้อมด้วย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน เพื่อเยี่ยมสถานศึกษา ติดตามการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และรับฟังความต้องการของพื้นที่

พบว่า หนึ่งในข้อเรียกร้องของพื้นที่ที่ตรงกัน คือ ขอให้มีการจัดหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสด้านวิชาชีพให้แก่ผู้เรียนสายสามัญศึกษา ได้เรียนสายช่างควบคู่ไปด้วย แต่ช่วงที่ผ่านมาการสอนหลักสูตรทวิศึกษาได้หยุดชะงักลง และขณะนี้มีเด็กที่เรียนในหลักสูตรนี้ค้างท่ออยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งทางจังหวัดต้องการให้จัดหลักสูตรนี้ต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่เด็กกลุ่มด้อยโอกาส

มว.ศึกษาธิการ มอบ สพฐ.-สอศ. คืนชีพหลักสูตรทวิศึกษา

“ดิฉัน ได้รับฟังรายงานการจัดการศึกษาหลักสูตรทวิศึกษา ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 จังหวัดน่าน ซึ่งได้ทำบันทึกข้อตกลงกับวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน โดยมีการจัดหลักสูตรทวิศึกษาร่วมกันใน 2 รายวิชา คือ หลักสูตรการตลาด และหลักสูตรช่างยนต์ มาตั้งแต่ปี 2558-2564 มีนักเรียนเรียนจบหลักสูตรจำนวน 104 คน และในส่วนของวิทยาลัยการอาชีพเวียงสา ได้จัดหลักสูตรทวิศึกษา ปี 2561-2562 มีนักเรียนจบหลักสูตร จำนวน 32 คน ขณะที่จังหวัดเชียงราย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท) ได้ร่วมกับ วิทยาลัยการอาชีพเวียงเชียงรุ้ง เปิดสอนทวิศึกษา 6 สาขาวิชา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คหกรรม และการบัญชี ซึ่งทำให้นักเรียนที่จบหลักสูตรทวิศึกษา สามารถเลือกเรียนต่อในระดับสูงได้ทั้งสายวิชาชีพในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี ขณะเดียวกัน เด็กบางคนก็สามารถนำความรู้และวุฒิ ปวช. ไปประกอบอาชีพได้เลย” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ตนได้มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดหลักสูตรทวิศึกษา โดยมีการจัดทำแผนระดับจังหวัด ว่า ควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหน รวมถึงแก้ไขปัญหาที่ทำให้โครงการนี้หยุดชะงักลง

สำหรับเด็กชั้น ม.4 เรียนหลักสูตรทวิศึกษาซึ่งที่ค้างท่ออยู่ในปัจจุบัน ก็ให้จัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และสามารถเปิดรับนักเรียนรุ่นต่อไปในปีการศึกษา 2566 ได้

ทั้งนี้ ตนได้ย้ำไปด้วยว่า การจัดหลักสูตรทวิศึกษาให้เป็นไปตามความพร้อมของทั้งโรงเรียนและวิทยาลัย และผู้ที่จะได้รับประกาศนียบัตร 2 หลักสูตร จะต้องเรียนรายวิชาครบตามเงื่อนไขของทั้ง 2 หลักสูตร ในการนี้ให้เลขาธิการ กพฐ. และเลขาธิการ กอศ. หารือร่วมกันในรายละเอียดการดำเนินงานทั้งการจัดการเรียนการสอนและงบประมาณ

ติดตามข่าสารเพิ่มเติมได้ที่ visitbradenton-manatee.com

UFA Slot

Releated